ข้อความใดต่อไปนี้อธิบายความหมายของเงินได้ดีที่สุด
- เงินคือสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเท่านั้น
- เงินคือสิ่งที่มีทองคำหรือโลหะเงินหนุนหลังอยู่
- เงินคืออะไรก็ได้ที่เป็นที่ยอมรับในการเป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน
- เงินคือสิ่งใดก็ได้ที่ไม่เคยสูญเสียค่าของตัวมัน เองเลย
ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่ของเงิน
- สิ่งจูงใจในการทำงาน
- สิ่งเก็บรักษามูลค่า
- เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่า
- มาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต
การที่มนุษย์ในสมัยโบราณต้องใช้วิธีการแลกเปลี่ยนกันโดยใช้สินค้าต่อสินค้าเพราะในสมัยนั้นยังขาดสิ่งใด
- สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
- การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสินค้า
- การสร้างผลิตภัณฑ์หลากหลาย
- หลักการบริโภคสินค้าอย่างถูกวิธี
การแลกเปลี่ยนในลักษณะการนำสิ่งของไปแลกสิ่งของโดยตรง เราเรียกว่าอะไร
- Barter System
- Economic System
- Economic Unit
- Free Trade
ข้อใดเกี่ยวข้องกับเรื่องการเงินน้อยที่สุด
- ค่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
- อำนาจซื้อ
- สภาพคล่องตัว
- สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
ข้อใดเป็นการกล่าวถึงค่าภายในของเงินในทางเศรษฐศาสตร์
- เงิน 50 ซื้อข้าวแกงได้ 1 จาน
- ธนบัตรใบละ 20 แลกเหรียญ 5 ได้ 4 เหรียญ
- เงิน 32 บาท แลกได้ 1 ดอลลลาร์
- ธนบัตรใลละ 50 บาท 1ใบมีค่าเท่ากับ 50บาท
ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของเงินในความหมายทางเศรษฐศาสตร์
- เป็นสิ่งที่กำหนดโดยรัฐบาล
- เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน
- เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่า
- เป็นสิ่งที่เก็บรักษามูลค่า
หน้าที่ของเงินในข้อใด ไม่มี การเปลี่ยนแปลงเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ
- สื่อกลางของการแลกเปลี่ยน
- สะสมความมั่งคั่ง
- เครื่องวัดมูลค่าและหน่วยทางบัญชี
- มาตรฐานการชำระหนี้ในอนาคต
ตัวอย่างของเงินที่มีสภาพคล่องมากที่สุด
- เงินสด
- ทองคำ
- เงินฝากประจำ
- คูปอง
จงเรียงลำดับวิวัฒนาการของการแลกเปลี่ยนในสังคมมนุษย์
- สิ่งของต่อสิ่งของ - เงิน – เครดิต
- เงิน - เครดิต – สิ่งของต่อสิ่งของ
- สิ่งของต่อสิ่งของ - เช็ค – เงินสด
- เงิน - สิ่งของต่อสิ่งของ - เครดิต
จากทฤษฎีปริมาณเงินของนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค เชิ่อว่า เมื่อในระบบเศรษฐกิจมีปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 จะส่งผลกระทบเศรษฐกิจอย่างไร
- ระดับราคาสินค้าสูงขึ้นร้อยละ 20
- ไม่มีผลกระทบ เพราะเป็นปัญหาเพียงเล็กน้อย
- เข้าสู่ภาวะเงินฝืด
- การว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20
เพื่อที่จะต่อต้านภาวะเงินเฟ้อ ธนาคารกลางควรจะทำอย่างไร
- ลดปริมาณเงินและเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
- เพิ่มปริมาณเงินและลดอัตราดอกเบี้ย
- ลดปริมาณเงินและลดอัตราดอกเบี้ย
- เพิ่มปริมาณเงินและเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
หน่วยงานใดที่รับผิดชอบในการผลิตเหรียญกษาปณ์
- กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- ธนาคารกลาง
- ธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไปมีหน้าที่ในข้อใดถูกต้องที่สุด
- รับฝากเงิน โอนเงิน เป็นตัวแทนของลูกค้ารับฝากของมีค่า
- รับฝากเงิน ให้กู้ เก็บเงินตามเช็ค รับประกันภัย
- รับฝากเงิน รับจำนำสิ่งของ ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ โอนเงิน
- รับฝากเงิน ให้กู้ รับฝากของมีค่า ควบคุมปริมาณเงินทั้งระบบ โอนเงิน
เงินจะทำหน้าที่ในการเป็นเครื่องสะสมมูลค่าได้ไม่ดี ถ้าขาดคุณสมบัติประการใดต่อไปนี้
- มูลค่ามีเสถียรภาพ
- หาได้ยาก
- การพกพาง่าย
- การแบ่งเป็นหน่วยย่อยได้
สิ่งใดต่อไปนี้ที่ไม่นับเป็นเงินตามความหมายแคบ
- เงินฝากธนาคารประเภทประจำ
- ธนบัตร
- เงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน
- เหรียญกษาปณ์
หน่วยงานใดเป็นผู้ใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- กระทรวงการคลัง
- สำนักงบประมาณ
- กรมบัญชีกลาง
ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ ตามแนวคิดของ John Maynard Keynes เกี่ยวกับปริมาณเงินที่ประชาชนต้องการถือไว้ในขณะใดขณะหนึ่ง
- ความต้องการถือเงินเพื่อลงทุน
- ความต้องการถือเงินเพื่อใช้จ่ายประจำวัน
- ความต้องการถือเงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน
- ความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร
ถ้าธนาคารพาณิชย์ให้ดอกเบี้ยในอัตราสูงจะส่งผลอย่างไรต่ออุปทานเงิน
- ความต้องการถือเงินลดลงจนถึงจุดดุลยภาพ
- ความต้องการถือเงินจะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดดุลยภาพ
- ไม่มีผลกระทบ
- ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจจะเพิ่มมากขึ้น
เงินสดสำรองส่วนเกิน (Excess Reserve) คืออะไร
- เงินสดที่เหลือจากการสำรองตามกฎหมายซึ่งธนาคารพาณิชย์สามารนำไปให้กู้ยืมได้
- เงินที่ธนาคารพาณิชย์ต้องเก็บไว้เป็นหลักประกันกับธนาคารกลาง
- เงินที่ธนาคารเหลือจากการกู้ยืมของภาคเอกชน
- เงินที่ภาคเอกชนนำมาฝากไว้ให้กู้ยามฉุกเฉิน
เงินในรูปของ Demand Deposit หมายถึงเงินประเภทใด
- เงินฝากกระแสรายวัน
- เงินฝากประจำ
- เงินฝากออมทรัพย์
- เงินฝากสะสมทรัพย์
ข้อใดเป็นปัจจัยให้เกิดภาวะเงินฝืด
- การเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย
- การเก็งกำไรในตลาดหุ้น
- ราคาปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้น
- ปริมาณการเสนอขายของผู้ผลิตลดลง
บุคคลในข้อใด เป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะเงินฝืด
- ลูกหนี้ธนาคารพาณิชย์
- ข้าราชการครู
- พนักงานรถประจำทาง
- เจ้าของกิจการบ้านเช่า
มาตรการใดมีส่วนช่วยแก้ปัญหาภาวะเงินฝืดของประเทศได้
- ธนาคารกลางซื้อหลักทรัพย์คืนจากประชาชน
- เพิ่มอัตราเงินสำรองตามกฎหมาย
- เพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน
- ออกระเบียบให้เอกชนลดการกู้เงินจากต่างประเทศ
ข้อใดไม่ใช่ผลเสียที่สำคัญของภาวะเงินฝืด
- สินค้ามีราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- สินค้ามีราคาถูกลงอย่างต่อเนื่อง
- การว่างงานมากขึ้น
- ทำให้ลูกหนี้เสียเปรียบเจ้าหนี้
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะเงินฝืด
- ธนาคารกลางประกาศลดอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์
- ธนาคารกลางกำหนดนโยบายการเงินแบบเข้มงวด
- รัฐบาลเก็บภาษีในอัตราสูง
- รัฐบาลใช้นโยบายลดงบประมาณราบจ่าย
บุคคลใดเป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดเมื่อเกิดภาวะเงินตึงตัว
- นักธุรกิจผู้ส่งออกคอมพิวเตอร์
- พนักงานบริษัทไทยน้ำทิพย์
- ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย
- สาวโรงงานทอผ้า
การดำเนินการต่อไปนี้ไม่ใช่หน้าที่ของธนาคารกลาง
- การรับฝากและให้กู้ยืมเงินแก่ประชาชน
- การรักษาเงินทุนสำรองเงินตราของประเทศ
- รับซื้อช่วงลดตั๋วเงินจากสถาบันการเงิน
- การเป็นตัวแทนทางการเงินของประเทศ
ข้อใดคือบริการของธนาคารพาณิชย์ในการรับซื้อตั๋วเงินจากประชาชน
- ให้กู้เงิน
- รับฝากเงิน
- การโอนเงิน
- การซื้อขายเงิน
เงินฝากขั้นที่สองหมายถึงข้อใด
- เงินที่ธนาคารพาณิชย์สร้างขึ้นโดยการปล่อยกู้
- เงินที่ธนาคารพาณิชย์นำไปฝากไว้ที่ธนาคารกลาง
- เงินสดที่มีผู้นำมาฝากกับธนาคารพาณิชย์
- เงินที่ธนาคารพาณิชย์สำรองไว้ยามฉุกเฉิน
ข้อใดคือเงินสดสำรองส่วนเกิน Excess Reserves
- เงินที่ธนาคารสามารถนำไปใช้หรือให้กู้ยืมได้
- เงินสำรองที่เหลือจากการให้กู้ยืม
- เงินสำรองเผื่อไว้ให้ลูกค้าที่จะมาถอนเงิน
- เงินสำรองที่ส่วนที่ต้องนำไปฝากไว้ที่ธนาคารกลาง
ข้อใดคือความหมายของอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายที่กำหนดไว้ 20%
- ธนาคารจะต้องสำรองเงินฝากไว้ที่ธนาคารกลางไม่ต่ำกว่า 20% ของยอดเงินฝาก
- ธนาคารจะต้องสำรองเงินฝากไว้ที่ธนาคารกลางไม่ต่ำกว่า 80% ของยอดเงินฝาก
- ธนาคารจะมีสำรองส่วนเกินได้ไม่ต่ำกว่า 20% ของยอดเงินฝาก
- ธนาคารสามารถปล่อยกู้ได้ไม่เกิน 20% ของยอดเงินฝาก
ความแตกต่างระหว่างเงินฝากขั้นที่หนึ่งและเงินฝากขั้นที่สองคือข้อใด
- เงินฝากขั้นที่สองคือเงินฝากที่ธนาคารสร้างขึ้นมาจากการให้กู้ยืม
- เงินฝากขั้นที่สองคือเงินฝากที่ธนาคารนำฝากไว้ที่ธนาคารกลาง
- เงินฝากขั้นที่หนึ่งคือเงินฝากที่ธนาคารต้องเก็บรักษาไว้ที่ธนาคารเองทั้งหมด
- เงินฝากขั้นที่หนึ่งคือเงินฝากที่ธนาคารไม่ต้องตั้งสำรองตามกฎหมาย
มาตรการใดมีส่วนช่วยแก้ปัญหาภาวะเงินฝืดของประเทศได้
- ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ให้ธนาคารกลางขายพันธบัตรมากขึ้น
- ลดการขาดดุลทางการคลังให้น้อยลง
- ออกระเบียบให้เอกชนลดการกู้เงินจากต่างประเทศ
ข้อใดหมายถึงเงินเฟ้อ
- การที่สินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีพมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- การที่อุปสงค์รวมเท่ากับอุปทานรวม
- การที่สินค้าและบริการทุกชนิดมีราคาถูกลงอย่างต่อเนื่อง
- การที่คนมีรายได้เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการจ้างงานเพิ่มขึ้น
ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
- ผู้ประกอบเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้า
- แรงผลักดันของอุปทานเนื่องจากผู้ผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น
- ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นเพราะรัฐบาลบวกภาษีขึ้นอีก2%
- แรงดึงของอุปสงค์ซึ่งเกิดจากความต้องการสินค้าและบริการมีมากกว่าจำนวนสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นได้
ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
- เจ้าหนี้คือผู้เสียประโยชน์เมื้อเกิดภาวะเงินเฟ้อ
- อัตราเงินเฟ้อ 18 % จัดเป็นภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรง
- ภาวะเงินเฟ้อมีผลโดยตรงต่อการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- เศรษฐกิจจะดีถ้าอัตราเงินเฟ้อเท่ากับศูนย์
ข้อใดคือผู้ที่ได้เปรียบจากผลที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ
- พ่อค้าแม่ค้าและเกษตรกรเพราะเป็นอาชีพอิสระ
- ทหารเพราะเป็นผู้มีรายได้ประจำ
- พนักงานเก็บค่าโดยสารรถประจำทางเพราะมีรายได้แน่นอน
- ผู้เกษียณอายุราชการเพราะเก็บเงินไว้กับตัวเอง
ข้อใด ไม่ใช่ นโยบายการเงิน ในการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ
- รัฐบาลเก็บภาษีเพิ่มขึ้น
- รัฐบาลขายหลักทรัพย์ให้แก่ประชาชน
- เพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์
- เพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋วเงินของธนาคารกลาง
ข้อใดเป็นมาตรการของรัฐในการลดภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากแรงดันของอุปทาน
- กำหนดอัตราค่างจ้างมิให้สูงเกินไป
- เพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
- เปิดบริการเสรีในการขึ้นค่าน้ำมันเชื้อเพลิงแต่บวกภาษีเพิ่มขึ้น
- สนับสนุนให้ผู้ผลิตลดปริมาณการผลิตสินค้าและบริการ